หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

 ข้อมูล เกี่ยวกับหุ่นยนต์ดังต่อไปนี้ 

1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

  cobot

โคบอท หรือ Collaborative Robots คือหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีรูปร่างเป็นแขนกลที่ทำงานหยิบจับจัดเรียงชิ้นส่วนต่างๆและหน้าที่ผลิตชิ้นส่วนต่างๆที่มีขนาดเล็กและต้องการความละเอียด ซึ่ง Cobot จะมีระบบเซ็นเซอร์ที่ล้ำสมัย สามารถตรวจวัดและผลิตชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงได้หลายๆชิ้นตามสเกลที่กำหนดไว้โดยปราศจากข้อผิดพลาด โดยโคบอทมีความแตกต่างจากหุ่นยนต์หรือโรบอททั่วไปคือโคบอทมีน้ำหนักเบาและขนาดไม่เทอะทะ สามารถเคลื่อนย้ายไปยังจุดต่างๆในโรงงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยโคบอทถูกใช้อย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงและอันตรายต่อมนุษย์ เช่น เคมีภัณฑ์ ยา อิเล็กทรอนิกส์และรถยนต์




2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์

หุ่นยนต์เชื่อม

ถือเป็นหุ่นยนต์มีความสำคัญในภาคอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นหุ่นยนต์ที่มีการนำเอาไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ โดยหุ่นยนต์นี้มีลักษณะเป็นแขนกลและมีส่วนปลายแขนที่เป็นหัวเชื่อมเหล็ก ซึ่งสามารถทำงานร่วมกับระบบสายพานที่จะลำเลียงวัสดุเข้ามาให้แขนกลนี้ทำการเชื่อมวัสดุในจุดต่าง ๆ ตามโปรแกรมที่มีการตั้งค่าเอาไว้โดยอัตโนมัติ ซึ่งถือเป็นการทำงานที่รวดเร็วและมีความแม่นยำสูงกว่าการใช้แรงงานมนุษย์เช่น Fanuc ARC Welding Robot ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่มีการออกแบบมาเพื่อให้สามารถเชื่อมไฟฟ้าโดยเฉพาะ โดยรองรับนักพนักได้ 20 กก. และมีระยะเอื้อม 2 เมตร รวมถึงเชื่อมได้ทั้งในระบบไฟฟ้า และเลเซอร์ รวมถึงงานบัดกรี และงานตัดต่าง ๆ


3.หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด

หุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด

เริ่มต้นจากการศึกษาความเป็นไปได้ในปี พ.ศ. 2559 โดยการรวบรวมความต้องการของหน่วยผู้ใช้งาน รวมทั้งการแสวงหาความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา ที่มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทั้งสถาบันการศึกษา หน่วยงานวิจัย และภาคอุตสาหกรรม ก่อให้เกิดเป็นต้นแบบและองค์ความรู้อันทรงคุณค่าในหลายสาขา ได้แก่ การพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดกลางที่สามารถเคลื่อนที่ได้รอบทิศทาง (Omni-directional Platform) องค์ความรู้ระบบนำทางหุ่นยนต์ (Vision-based Closed-loop Control for Robot Navigation) การตรวจหาเป้าหมายอัจฉริยะโดยใช้เรดาร์ทะลุพื้นดิน ต้นแบบและองค์ความรู้ในการพัฒนาระบบขับเคลื่อนหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดขนาดกลาง (แบบสายพาน)องค์ความรู้ในการพัฒนาประสิทธิภาพของเซ็นเซอร์ขยายสัญญาณรามานสำหรับตรวจหาวัตถุระเบิด และการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับตรวจการจับวัตถุระเบิดจากภาพเอกซเรย์ ซึ่งสามารถนำไปขยายผลเพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพของเทคโนโลยีให้ก้าวหน้าขึ้น พร้อมกับถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ภาคประชาสังคมได้ต่อไปในอนาคต




4.หุ่นยนต์อัจฉริยะ

ถูกพัฒนาให้มีความรู้สึก มีความคิดสร้างสรรค์ เคลื่อนไหวได้ เรียนรู้จดจำคำพูด สามารถพูดตอบโต้ได้ด้วยเทคโนโลยีจาก Google นอกจากนี้ยังมีกล้องภายในดวงตา ทำให้สบตาเมื่อคุยกับมนุษย์  Sophia (โซเฟีย) เป็นหุ่นยนต์ที่ใส่เทคโนโลยี AI เข้าไป ของ Hanson Robotics บริษัทผลิตหุ่นยนต์ที่มีฐานอยู่ในฮ่องกงทั้งนี้ Sophia เป็นหุ่นยนต์ตัวแรกที่ได้รับสิทธิการเป็นพลเมืองจากประเทศซาอุดิอาระเบีย รวมถึงได้รับเชิญไปออกรายการดังทางโทรทัศน์อีกหลายรายการ ผู้ผลิตตั้งเป้าว่าจะใช้ Sophia ไปช่วยงานมนุษย์ เช่น งานบริการต้อนรับ งานสาธารณสุข หรืออาจทำงานทดแทนมนุษย์ได้ในบางตำแหน่ง




 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สายพานลำเลียงและ รถ agv

เรื่องเครื่องจักร NC